วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

ปัจจัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาบนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มปัจจัยทุนทางสังคม
ทุนทางสังคมแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ • ทุนทางสังคมที่เป็นรูปธรรม อันรวมถึงทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทรัพยากร และสมาชิกในสังคม กับทุนทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น นวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยี เป็นต้น • ทุนทางสังคมที่เป็นนามธรรม เช่น วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ที่เป็นกรอบการดําเนินชีวิตของสมาชิกในสังคม ความรู้ในสังคม ความสัมพันธ์ไว้วางใจกันในชุมชน เป็นต้น จากประสบการณ์ของชุมชนต่าง พบว่า โดยทั่วไปแล้ว คนในชุมชนจะกระตือรือร้นที่จะรวมกลุ่มกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และปัญหานั้นส่งผลกระทบกับผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในชุมชน ดังนั้นกระบวนการสร้างสํานึกร่วมในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ โดยผ่านการรวมกลุ่มของคนท้องถิ่นในการร่วมกันใช้เหตุผลวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์แนวทางแก้ไขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและปกป้องผลประโยชน์ร่วมของคนภายในชุมชน เมื่อการรวมกลุ่มดังกล่าวประสบความสําเร็จ ชุมชนจําเป็นต้องสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่นที่ประสกับปัญหาเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ ความรู้ และร่วมมือกันสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชนตน ท้ายสุดการเรียนรู้ชึ่งกันและกันระหว่างชุมชนยังสามารถส่งเสริมการพัฒนาทางด้านต่างๆ อีกด้วย • ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ความสําคัญของ วัฒนธรรมไทย คือ การมีคุณธรรม เป็นพื้นฐาน เราจึงต้องใช้คุณธรรมนําการพัฒนา โดยมี “ระบบดี ระเบียบสวย รวยคุณธรรม” วางแผนการจัดการที่ดีของสภาชุมชน ชุมชนที่มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ปกครองไม่ยาก ทั้งนี้ต้องบริหารด้วยปัญญา ทําอะไรก็ต้องใช้ปัญญา ซึ่งเมื่อ “มีปัญหา ปัญญาจึงเกิด” และต้องมีจิตใจที่ตั้งอยู่ในวัฒนธรรม มิได้มุ่งเอาชนะกัน แต่เน้นความพอดี โปร่งใส มีคุณธรรม การใช้ภู มิปัญญาและวั ฒนธรรมเป็นปัจจั ยในการขับเคลื่อน โดยใช้ประเพณีของท้องถิ่นของตนเอง ต้องทําเอง ฝึกเอง และเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่ทําก็ไม่รู้ หรือไม่ทําก็ไม่มีทางทําได้ ต้องหาสถานที่สงบฝึกปัญญา ซักถามเมื่อสงสัย รู้ที่มาที่ไป รู้รากเหง้าตนเอง สร้างสํานึกรักบ้านเกิด สร้างนิสัยผูกมัดเชื่อมโยงชุมชนโดยการออมทรัพยฃ์ร่วมกัน ผ่านโครงการพึ่งตนเองเพื่อสร้างเม็ดเงิน และใช้เงินที่เหลือจัดสวัสดิการชุมชน • ศาสนา ปัจจัยด้านศาสนา นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากศาสนาทําให้คนเราดําเนินชีวิตตามกรอบคุณธรรม ไม่ฟุ้งเฟ้อ หลักคําสอนทางศาสนาเป็นที่พึ่งของทุกคนมาตั้งแต่เด็ก โดยส่วนใหญ่คนเราในวัยเด็กและวัยชรา จะให้ความสําคัญกับหลักคําสอนทางศาสนามากกว่าคนในวัยรุ่น ที่ยังคงดําเนินชีวิตอย่างคึกคะนอง และมักหลงไปตามความสนุกสนาน ทําให้มีเวลาศึกษาหลักศาสนาน้อยกว่าคนในวัยอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ยังคงต้องยึดหลักศาสนาในการดํารงชีวิต โดยคนที่ปฎิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดจะได้รับความนับถือจากคนอื่นๆ ในชุมชนเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากศาสนาพุทธที่คนให้ความนับถือพระ หรือศาสนาอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนจะให้ความนับถือโต๊ะครูเป็นอย่างมาก ศาสนาทุกศาสนาสอนให้เรารู้ว่า บาปบุญเป็นเช่นไร หรือสอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรม ว่าทําอย่างไรได้ผลอย่างนั้น เหตุการณ์ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุและปัจจัย ศาสนาทุกศาสนามีหลักคําสอนโดยพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน การที่เราตีความให้แต่ละศาสนาแตกต่างกันนั้น เป็นสิ่งที่พวกเรามาคิดหรือบัญญัติกันเอาเอง และทําให้มีความเห็นที่แตกต่างในหลักคําเชื่อ ดังนั้น ถ้าจะให้ดําเนินชีวิตอย่างเป็นสุข เราควรดํารงชีวิ ตโดยเข้าใจหลักคําสอนที่แท้จริง ที่อยู่เหนือหลักบัญญัติของแต่ละศาสนา ไม่แบ่งแยกเขาแบ่งแยกเรา การนําหลักศาสนามาประยุกต์ใช้นั้น จําเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังที่สําคัญคือ ต้องไม่ประมาท โดยคําว่าประมาทนั้นครอบคลุมความหมายรวมถึง ความประมาทในการกระทํา ประมาทในทางความคิด และการพูดจา ทั้งนี้ เพราะตามธรรมชาติของพวกเราทุกคนมีความเหมือนกันคือ ทุกคนมีความโลภ โกรธ หลงอยู่ในตัวเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เวลาไปพบสิ่งหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนา หรือไม่เป็นไปตามภาพที่เรานึกคิดไว้ เราก็จะสร้าง “ภาพปฏิเสธ” ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ทิฐิก็จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่หากเรามีสติอยู่ตลอดเวลาและยึดถือในหลักคําสอนของศาสนา เราจะสามารถสร้างภาพที่ด ีหรือเป็นกุศล ให้ตัวเรามีสัมมาทิฐิได้มากกว่า ภาพปฏิเสธหรือความคิดอันเกิดจากมิจฉาทิฐิ สําหรับการใช้ศาสนาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ควรอาศัยหลักคําสอนของศาสนาเผยแพร่ ควบคู่ไปกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีข้อเสนอแนะว่า ในการสอนหรือชักจูงคนอื่นๆ ให้เห็นคล้อยตามกับเรานั้น เราไม่ควรใช้คําว่า อย่า หรือสั่งห้ามไม่ให้ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะธรรมชาติของคนเรานั้น จะยึดมั่นในอัตตา และไม่ชอบให้อัตตาถูกทําลายหรือถูกใครสั่งการ ดังนั้น เวลาจะสื่อสารกับใครในเรื่องใดๆ ก็ตาม ควรคิดค้นหากลวิธีที่นุ่มนวล และสอดคล้องกับจริตของผู้รับสาร โดยควรคํานึงถึงแบบแผนของการสื่อสารให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแก่พสกนิกร ดังนั้นพระราชดํารัสหรือพระราชกรณียกิจของพระองค์ จึงเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนา บนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับบุคคล และชุมชน เนื่องจากพระองค์เป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนไทยทุกหมู่เหล่า ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยสําคัญในการปลุกจิตวิญญาณการทํางานเพื่อสังคม ตามรอยพระยุคลบาท การสร้างกิจกรรมในการขับเคลื่อนปัจจัยนี้สามารถทําได้หลายรูปแบบ ดังนี้ • จัดทําเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเผยแพร่ไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาทิ • รวบรวมพระราชดํารัสในวโรกาสต่าง ๆ โดยจําแนกเป็นหมวดหมู่การพัฒนา เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาแหล่งน้ำ การรวมกลุ่มอย่างสามัคคี เป็นต้น • รวบรวมพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการดําเนินการตามพระราชดําริ และการดําเนินการที่สําคัญต่างๆ • รวบรวมสื่อต่าง ๆ ที่จัดทําเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ • เผยแพร่ วิธีการ และขั้นตอนการไปดูงานโครงการพระราชดําริ หรื อสวนจิตรลดา เป็นต้น • มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทําเอกสาร และเผยแพร่ อาทิ สํานักงานคณะกรรมการประสานโครงการพระราชดําริ (กปร.) หรือศูนย์การเรียนรู้โครงการตามพระราชดําริ 8 แห่งทั่วประเทศ


กลุ่มปัจจัยการรวมกลุ่มและชุมชนเข้มแข็ง

หนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สําคัญในการพัฒนาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ตามความคิดเห็นของกลุ่มเห็นว่า ควรแบ่งแนวคิดออกเป็นสองส่วน คือการเสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม และการถักทอเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ในส่วนของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มนั้น ควรเล็งเห็นถึงความแข็งแกร่งในตัวผู้นําชุมชนเอง ซึ่งจะมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นความสนใจของชุมชน ให้รู้จักเรียนรู้แผนชุมชนอย่างมีระบบ เพื่อขจัดปัญหาของชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ความแข็งแกร่งนี้มีจุดหมายหลักสุดท้ายที่กลุ่ม โดยกลุ่มจะต้องรู้จักร่วมคิด เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์ ทั้งในเชิงการผลิต การตลาด ตลอดจนคํานึงถึงผลประโยชน์ที่จะมีต่อกลุ่มเป็นหลักในการตัดสินใจ เมื่อกลุ่มแต่ละกลุ่มมีความเข้มแข็งแล้ว เมื่อนั้นจึงจะถึงเวลาที่จะสามารถขยายออกสู่การสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบของการแลกเปลี่ยน พบปะ และพูดจากัน จนเกิดเครือข่ายที่ถูกร้อยและถักทอ จนขยายใหญ่ และมีความเป็นปึกแผ่น หลักสําคัญเพื่อการมุ่งสู่ความสําเร็จของการถักทอเครือข่ายก็คือ การค้นหากลุ่มเข้มแข็ง และการเรียนรู้จากความสําเร็จและล้มเหลวของกลุ่มที่เข้มแข็ง ซึ่งจะทําให้เกิดผลดีในการแพร่ขยาย กลุ่มต่าง ๆ จึงต้องรู้จักหนุนเสริมซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนกระบวนความรู้ จนทําให้เกิดการเรียนรู้ในเครือข่าย ทั้งในการผลิต ด้านเทคโนโลยี และการหาตลาด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เครือข่ายมีความมั่นคงและยั่งยืน กลุ่มในเครือข่ายจะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันทํางาน และมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน มีความสุจริตใจในการทํางาน อันจะเป็นส่วนเสริมให้การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างแท้จริง อันจะนํามาซึ่งการแก้ปัญหาของชุมชนที่มีพื้นฐานจากความขาดแคลนและความยากจนได้สําเร็จ กระบวนการใช้เครือข่าย-ชุมชนเข้มแข็งขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนดังนี้ • หาวิธีการถ่ายทอดการเรียนรู้ และถอดแบบ โดยมีชุมชนหลัก ชุมชนรอง และชุมชนเงา เป็นแกนระดับต่างๆ ในการถ่ายทอดสู่ชุมชนลูกข่าย ภายใต้หลักสูตรที่มีการสร้างร่วมกัน • สร้างความเข้มแข็งแก่บุคลากร โดยสร้างผู้นํา มีตัวตาย - ตัวแทน • มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยการสรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง • ปัจจัยหลักที่ควรจะมี เพื่อเกิดเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง คือ มีสถานที่ในการทํางานที่พร้อม มีแหล่งทุนหนุนเสริม และมีหลักสูตรที่จะเรียนรู้


กลุ่มปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาตินั้นหมายรวมถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่ทําให้เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ตั้งแต่ ป่า ดิน ต้นน้ำ ทะเล ปลายน้ำ ชายฝั่งทะเล ทรัพยากรทะเล และภูมินิเวศ ทั้งทางพืชและสัตว์ต่างๆ กระบวนการใช้ปัจจัยทางทรัพยากรขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • สร้างจิตสํานึกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสิ่งแวดล้อม • สร้างองค์ความรู้ และสร้างกลุ่มการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรร่วมกันในหมู่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชน หมั่นศึกษา วิจัย และทําความเข้าใจในศั กยภาพของทรัพยากรของชุมฃน และของประเทศ • กําหนดข้อบังคับให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม และร่วมกันเฝ้าระวังไม่มีการทําลายทรัพยากร • ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรให้มีใช้ได้อย่างยั่งยืน • ถอดบทเรียนผลของความสําเร็จ และความล้มเหลวจากการพัฒนาที่ผ่านมาของสังคมไทย และชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน


กลุ่มปัจจัยด้านรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ใช้ในการกําหนดกฎระเบียบในการปกครองและการบริหารประเทศ ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เปรียบเสมือนเข็มทิศชี้ทิศทางการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมของประเทศ ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการปกครองประเทศมาเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปตามสภาวการณ์ ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ดังเห็นได้จากกระบวนการจัดทํารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 ที่เกิดจากการบัญญัติโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจํานวน 99 คน ทําหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง ที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง และสามารถตรวจสอบการใช้อํานาจของรัฐได้ ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545–2549) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตและเกิดสังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้านคือ เป็นสังคมที่มีคุณภาพ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และเป็นสังคมที่สมานฉันท์ และเอื้ออาทร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบในการร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้สนับสนุนการดําเนินงานในโครงการ และนโยบายต่างๆ ที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์สําคัญในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารประเทศ และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานําทางในแผนพัฒนาฯ ทั้งนี้ สํานักงานฯ ได้ดําเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการแปลงแผนพัฒนาฯ ไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยมีตัวอย่างโครงการดังนี้ • โครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดิน : โครงการดังกล่าวเป็นโครงการตามแนวคิดของรัฐบาล ที่จะใช้พลังแผ่นดินของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาหลักๆ และแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เช่น แก้ไขปัญหาความยากจนในระดับตําบล ลดปัญหายาเสพติด ปราบปรามการทุจริตการฉ้อราษฎร์บังหลวง สร้างพลังทางสังคม วัฒนธรรม และปัญญา ตลอดจนศีลธรรมและเร่งปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดผล ผ่านการอบรมเครือข่ายการพัฒนา ที่เป็นวิทยากรกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงร่วมคิด ร่วมทํา และร่วมรั บผิดชอบระหว่างสมาชิกในชุมชนต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารจากเดิมที่รัฐหรือภาคราชการเป็นผู้แก้ไขปัญหาสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งหมด • นโยบายการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ : คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทําหน้าที่ประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน อันเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ตามคุณลักษณะสําคัญ 4 ด้าน ได้แก่ • ความน่าอยู่ คือเรื่อง คุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย • ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมา ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมวิจัยต่อยอด หรื อเลือกนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสม • เศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง คือการดําเนินกิจกรรมด้านการผลิต ควรยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตให้มีความสมดุล มีภูมิคุ้มกัน และเชื่อมโยงการผลิตชุมชนสู่ภายนอก • การบริหารจัดการที่ดี คือการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม • โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น : โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งประสานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการกระจาย อํานาจสู่ท้องถิ่น อันเป็นแนวทางหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในส่วนของการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นรากฐานที่สําคัญ และก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีแก่สังคมไทย อันเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่ง นอกเหนือจากความพอประมาณ และความมีเหตุมีผล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นปรัชญานําทางในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

เราสามารถนําเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นพื้นฐาน ในการเสริมสร้างผลกระทบในแง่บวกที่เกิดขึ้นจากการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและกระแสโลกาภิวัตน์ หรือนํามาใช้เป็นพื้นฐานสําหรับการสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบในแง่ลบได้ ดังนี้ • เพิ่มความรู้และขีดความสามารถของคนในชุมชนให้รู้จักตนเอง มีศักยภาพการเรียนรู้ และรู้จักทุนทางเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนตนเอง ในระดับที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ตนมีอยู่ ให้สามารถทําความเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดปัญญาความรู้คือ รู้เขารู้เรา ทั้งในระดับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และระดับโลก เพื่อจะผลักดันให้เกิดการเตรียมความพร้อม และรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกระแสโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี • สนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้นในระดับต่างๆ ทั้งในระดับการจัดการชีวิตตนเอง จัดการภายในครอบครัว จัดการภายในชุมชนและวิสาหกิจระดับต่างๆ โดยอาจเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส การจัดทําบัญชีที่ดี การมีส่วนร่วมรับฟังความคิดของผู้อื่น การปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายทางการผลิตและการค้าขาย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย • ใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นองค์รวม เพื่อความสมดุลและยั่งยืน หรือเป็นยุทธศาสตร์ที่ให้ความสําคัญกับการเตรียมความพร้อม และมุ่งรักษาความสมดุลของการพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทุน 3 ด้านอย่างสมดุลกัน ได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร โดยแต่ละท้องถิ่น แม้จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ต่างกันไปตามลักษณะของสาเหตุ และบริบทของแต่ละท้องที่ แต่ก็สามารถสร้างเครือข่ายแห่งความร่วมมือ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งเชื่อมโยงผลประโยชน์ระดับท้องถิ่นและผลประโยชน์ระดับชาติเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไปได้

กิจกรรมในชุมชนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่ยังไม่มีการกล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถจัดประเภทของกิจกรรมได้เป็น 3 กลุ่มกิจกรรมหลัก ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ • กิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุนธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธีการทําเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน ที่ผ่านมาชุมชนได้ทํากิจกรรมต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการทําปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทําสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร การทําถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิต และการทําการเกษตรผสมผสาน เป็นต้น • การรวมกลุ่มกันเพื่อทํากิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ชุมชนได้รวมตัวกันทํากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความรักและความเอื้ออาทรของสมาชิกในชุมชน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การนมัสการพระให้มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนของชุมชน กิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ หรือโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้าน การร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนทํากิจกรรมต่างๆ ภายในวัด การจัดตั้งร้านค้าที่เป็นของชุมชนเอง การจัดทําแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการผลิตของกลุ่มต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มทําขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้ชุมชน ยังได้ตั้งกองทุนข้าวสารร่วมกับชุมชนอื่นๆ ในต่างภูมิภาค เพื่อค้าขาย หรือผลิตระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขยายผลการพัฒนาไปยังเครือข่ายชุมชนอื่นๆ ด้วย • กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จิตสํานึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนได้ ริ่เริ่มกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังจริยธรรมความดีงาม และจิตสํานึกรักท้องถิ่นให้เกิดขึ้นแก่สมาชิกของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคํานึงถึงตัวเงิน หรือวัตถุเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกทําบัญชีอย่างโปร่งใส และสุจริต กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพและมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสําคัญ รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเอง ก่อนที่จะพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

โลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ปรัชญาที่ใช้ได้เฉพาะครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสังคมโดยรวม การจะดำรงชีวิตอยู่ได้ตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สมาชิกจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาหนทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัตน์ โดยอาศัยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับจากกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นเข้ามาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชน จนชุมชนต้องล่มสลายไป ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนต่างๆสามารถดำเนินการได้ตามแนวทางข้างต้น เราซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่ง ของสังคมจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจปฎิสัมพันธ์ระหว่างกระแสโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยการทบทวนหรือมองย้อนกลับไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 อันเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่สังคมไทยได้รับจากการเปิดรับกระแสโลกาภิวัตน์มากเกินไป โดยไม่ได้เตรียมความพร้อมของคนและระบบในสังคมให้ดีพอ ความเข้าใจถึงปัจจัยภายในประเทศที่มีส่วนทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้ผลกระทบของวิกฤตแผ่ขยายไปทั่วประเทศในวงกว้าง จะทำให้เราเข้าใจปฎิสัมพันธ์ระหว่างกระแสโลกาภิวัตน์และกระบวนการพัฒนาประเทศได้ดียิ่งขึ้นและ ความเข้าใจดังกล่าวอาจนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

วิกฤติเศรษฐกิจ

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 เป็นบทเรียนที่ดีในการวางแผนการพัฒนาประเทศ โดยทำให้เห็นความสำคัญของแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ที่เน้นความพอเพียงเป็นพื้นฐานก่อน ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ว่า “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ความพอมีพอกิน” ความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นพบว่า มีปัจจัยต่างๆ หลายประการที่มีส่วนผลักดันให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ 1. อิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก ค่อยๆ กลืนวัฒนธรรมไทยและแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ครอบงำปัจจัยพื้นฐานของประเทศ และบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ ผ่านเครื่องมือ 4 อย่าง ได้แก่ สถาบันการเงิน นักการเมืองที่ทุจริต ระบบประชาธิปไตยแบบยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก และสื่อมวลชน 2. แนวทางการพัฒนาของประเทศในช่วงที่ผ่านมานั้น รัฐส่งเสริมการพัฒนาแบบรวมศูนย์หรือเอาเงินเป็นตัวตั้ง มุ่งกระจายเงินไปสู่ชนบทโดยไม่คำนึงถึงการหาแนวทางเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับสมาชิกในชุมชน แต่เน้นส่งเสริมให้สมาชิกมุ่งผลิตเพื่อส่งออก และทำรายได้แทนการปลูกเพื่อให้พอเพียงต่อการบริโภคภายในครัวเรือน 3. ผลจากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ สมาชิกในชุมชนคุ้นเคยกับการก่อหนี้ ไม่สนใจการออม มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือลงทุนเกินตัว และวางแผนการใช้เงินโดยขาดความรอบคอบ ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม สังคม ค่านิยม และอิทธิพลของสื่อมวลชน 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีส่วนทำให้เกิดวิกฤตในสังคมไทย โดยในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่คิดช่วยเหลือสังคม เนื่องจากระบบการศึกษานั้นเน้นให้ความสำคัญกับใบปริญญามากกว่าเน้นผลที่จะได้รับการศึกษาเล่าเรียน ขณะที่สถาบันส่วนใหญ่มักได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมที่ดีงามแต่ดั้งเดิมถูกทำลาย มีการรับเอาวิถีการดำเนินชีวิตจากต่างประเทศมาโดยไม่ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพราะถูกความเจริญของวัฒนธรรมตะวันตกแทรกเข้ามาในรูปแบบการบริโภคและอุปโภค เงินกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต การเน้นสร้างความร่ำรวย ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร เช่น ป่าไม้และทรัพยากรทางทะเลเพื่อนำไปส่งเสริมความกินดีอยู่ดีทางวัตถุ 2. ขาดการถ่ายทอดความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาไปยังรุ่นลูกหลาน หรือปลูกฝังค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่ผิด เช่น ไม่ปลูกฝังให้สมาชิกรู้จักความพอเพียง ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่รู้จักบุญคุณคน ไม่ให้ความนับถือผู้สูงอายุหรือพระสงฆ์ ไม่รู้จักหน้าที่ของการเป็นคนดี นับถือคนรวยโดยไม่คำนึงถึงวิธีการหาเงินของเขาว่าผิดกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งการไม่รู้จักวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ไทยและการไม่ยึดมั่น/เข้าใจในหลักคำสอนของศาสนา จึงนำเอาหลักคำสอนมาใช้ในทางที่ผิด และค่านิยมที่มุ่งส่งเสริมความเห็นแก่ตัว ตัวใครตัวมัน ทำให้สมาชิกไม่เห็นอกเห็นใจกัน หรือร่วมมือร่วมใจกันเมื่อเกิดปัญหา 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวิถีการดำรงชีวิตของสมาชิกในชนบท และปัญหาโครงสร้างประชากรของชุมชน เนื่องจากสมาชิกในชนบทไม่อยากเป็นชาวนา จึงอพยพออกจากท้องถิ่นเพื่อไปหางานทำในเมือง ทำให้เหลือแต่คนชราและเด็กอยู่ในชุมชน เป็นผลให้ชุมชนขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร สถาบันครอบครัวจึงล่มสลาย พ่อแม่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเองทำให้ละเลยที่จะอบรมและเอาใจใส่ลูก เพื่อนและสังคมภายนอกจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถชักจูงลูก มากกว่าครอบครัว 4. นักธุรกิจและผู้ประกอบการด้านสื่อขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มุ่งทำเงินมากกว่าคุณภาพของสื่อ ทำให้สื่อขาดมาตรฐานหรือเปิดเสรีมากเกินไป ทำให้ผู้บริโภคในสังคมไทยขาดข้อมูลที่มีคุณภาพและมักถูกสื่อครอบงำ เช่น สื่อให้ความรู้ที่ผิดพลาดในด้านข่าวสารและการสร้างค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ หรือเด็กมักถูกอิทธิพลของสื่อมอมเมาได้ง่าย ระบบราชการ การเมือง และกฎหมาย 1. กระบวนการทางการเมืองไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการพัฒนาระดับชุมชน ดังจะเห็นได้ว่า ในอดีตประชาชนไม่สนใจที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือในกระบวนการเลือกตั้งเพื่อสรรหาคนดีมารับใช้ประเทศ ทำให้ได้นักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม มุ่งตักตวงผลประโยชน์ให้ตนเอง และยึดระบบอุปถัมภ์ช่วยเหลือพวกพ้องสร้างความไม่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ประกอบกับผู้นำประเทศไม่มีคุณภาพ การทุจริตและฉ้อราษฎร์บังหลวงทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ขณะที่บุคลากรในระบบราชการ มีจำนวนข้าราชการมากจนเกินงาน ทำให้เกิดการว่างงานแฝง 2. โครงสร้างทางการเมืองที่ไม่โปร่งใส และกระบวนการวางแผนพัฒนาไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศมีส่วนร่วม หรือยังคงเป็นแบบรวมศูนย์การปกครอง ไม่กระจายอำนาจไปสู่กลุ่มคนที่เป็นรากฐานของสังคมได้อย่างแท้จริง ทำให้แนวทางการพัฒนาของรัฐไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพราะภาครัฐไม่ฟังเสียงคนจากฐานราก จึงไม่รู้หรือเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของประชาชน และทำงานในลักษณะที่ไม่ประสานกันกับภาคเอกชนหรือภาคชุมชน 3. ระบบกฎหมายล้าหลัง ไม่สามารถใช้เป็นหลักตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเอื้อให้เกิดความเสมอภาคที่เปิดให้ทุกคนภายในชุมชนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน ปัจจัยทางด้านความรู้ เทคโนโลยี และ การศึกษา 1. ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี หรือนำมาประยุกต์ใช้โดยไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย และทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของสังคมไทยที่สะสมกันมา 2. ปัญหาด้านหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมแต่หลักวิชา ไม่ได้สอนให้คนคิดเป็น ทำเป็น ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งผลิตเด็กที่มีความรู้แต่ไม่มีคุณธรรม บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานเพื่อสนองผลประโยชน์ของบริษัทธุรกิจหรือนายทุน ไม่ได้เข้าใจสภาพชุมชนหรือปัญหาสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่หรือนำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและชุมชนตนเองได้ 3. ระบบการศึกษาขาดคุณภาพ ไม่จูงใจให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาสมัครใจเป็นครูที่ดี ขณะที่สมาชิกที่เป็นนักศึกษาเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวมาเป็นภาระของครอบครัวที่พ่อแม่พี่น้องต้องหาเงินมาส่งเสียให้เรียน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การที่สมาชิกในชุมชนไม่รู้จักคุณค่าของทรัพยากรหรือมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ทำให้เกิดปัญหาความเสี่อมโทรมของปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่เคยมีอย่างสมบูรณ์ในอดีต ที่ดินถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดินไม่รู้จักรักษา ไม่รู้วิธีการ หรือจัดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สาม


หลังจากที่ชุมชนรวมพลัง ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินงานจนเกิดประสิทธิผล และสังคมอยู่อย่างอบอุ่น มั่นคง และมีความสุขไปแล้ว ในขั้นที่ 3 ของทฤษฎีใหม่นี้จะเป้นขั้นที่นำไปสู่ธุรกิจชุมชน เพื่อให้สภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชุมชนดียิ่งขึ้น ขั้นนี้จึงเป็นขั้นตอนของการติดต่อประสานงานกับแหล่งเงินทุน เพื่อนำเงินมาใช้กับกิจกรรมต่างๆ ของเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้การดำเนินงานก้าวหน้ายิ่งขึ้น แหล่งเงินทุนที่สามารถติดต่อได้ เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้านเอกชน รวมทั้งองค์กรและมูลนิธิต่างๆ ในการติดต่อประสานงานระหว่างเกษตรกรและแหล่งเงินทุนนี้ จะเป็นการเอื้อและประสานประโยชน์วึ่งกันและกัน คือ ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ ได้แก่ 1. สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง เนื่องจากไม่ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เพราะเป็นการจำหน่ายแก่ผู้ซื้อโดยตรง 2. ซื้อวัสดุปุกรณ์การเกษตรได้ในราคาถูก เนื่องจากเป็นการซื้อในราคาขายส่ง เพราะซื้อผ่านกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ ประโยชน์ที่แหล่งเงินทุนจะได้รับ ได้แก่ 1. ซื้อผลผลิตการเกษตรได้ในราคาต่ำ เนื่องจากเป็นการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง 2. สามารถกระจายบุคลากรได้มากขึ้น เนื่องจากในแหล่งชุมชนนั้นมีกิจการของแหล่งเงินทุนดำเนินการอยู่ จึงทำให้สามารถขยายกิจการ เพิ่มงานและเพิ่มบุคลากรได้มากยิ่งขึ้น หากกล่าวโดยสรุป ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 คือการดำเนินการ เพื่อให้เกษตรกรมั่งคั่ง มั่นคง และสามารถบริหารจัดการการประกอบอาชีพ ทั้งภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรระดับนานาชาติ อย่างเท่าเทียมกับภูมิภาคต่างๆ ของโลก

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สอง


เมื่อเกษตรกรดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้น หรือขั้นที่ 1 คือการผลิตอาหารเพื่อบริโภคจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวอย่างเพียงพอ และสามารถช่วยตัวเองได้แล้ว ขั้นต่อไปที่จะต้องดำเนินการต่อก็คือ การรวมพลังกันในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การผลิต ในกระบวนการผลิตทางการเกษตรนั้น เกษตรกรสามารถที่จะดำเนินการร่วมกันในหลายๆ ด้านดังนี้ 1.1 การร่วมมือกันในด้านพันธุ์พืช พันธุ์พืชเป็นปัจจัยปลักอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพการเกษตร หากมีการแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันภายในชุมชนแล้ว จะทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนในการประกอบอาชีพ และจะทำให้การประกอบอาชีพนั้นประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
1.2 การร่วมมือกันในการเตรียมดิน การเตรียมดินก่อนการปลูกพืชเป็นงานที่สำคัญอย่างหนึ่ง หากเกษตรกรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์และแรงงานกัน ดังที่เกษตรกรทั่วไปเรียกว่า เอาแรงกัน จะทำให้ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย 1.3 การร่วมมือกันทำงาน เช่น การดำนา การหว่านเมล็ด หรือการปลูกพืช การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวผลิตผล กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมมือร่วมแรงกัน ดังกรณีประเพณี การลงแขก ของชาวนาไทยในอดีต

1.4 การช่วยเหลือกันในการจัดการแหล่งน้ำ หากมีการช่วยเหลือกันในการขุดสระน้ำ หรือในกรณีที่ขาดน้ำ มีการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเป็นการแก้ปัญหาหรือลดปัญหาในการขาดแคลนน้ำได้ 2. การตลาด ทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้เป้นขั้นที่มีการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเกษตรกรสามารถผลิตได้มากกว่าปริมาณที่ใช้ในการบริโภค ส่วนที่เหลือก้สามารถนำไปจำหน่ายได้ ดังนั้นเกษตรกรควรมีการร่วมมือร่วมใจกันในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 ลานตากข้าว ลานตากข้าวเป็นเรื่องจำเป็น เพราะถ้าหากหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ตากให้แห้งจะทำให้ข้าวมีความชื้นสูง ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ แต่การที่จะทำลานตากข้าวนั้น เกษตรกรมักประสบกับปัญหาอยู่เสมอ เช่น มีปัญหาเรื่องเงิน แรงงาน หรือแม้แต่พื้นที่ที่จะใช้ทำลานตากข้าว เนื่องจากเกษตรกรมีพื้นที่จำกัด ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมมือกันในการจัดทำและใช้ลานตากข้าวร่วมกัน โดยกำหนดระยะดวลาการใช้ให้เหมาะสม เช่น กำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวและตากข้าวไม่พร้อมกัน ถ้าหากทำเช่นนี้จะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย จะทำให้มีรายได้สูงขึ้น 2.2 ยุ้งข้าวหรือยุ้งฉางเก็บรักษาเมล็ดพืชไร่ ยุ้งฉางมีไว้เพื่อเก็บรักษาผลิตผลในกรณีที่ยังไม่พร้อมที่จะขาย หรือในช่วงที่มีราคาตกต่ำ เกษตรกรในชุมชนควรร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเช่นเดียวกับกรณีของลานตากข้าว
2.3 เครื่องสีข้าว เกษตรกรควรรวมกลุ่มกันเพื่อจัดหาหรือจัดตั้งเครื่องสีข้าว สำหรับใช้ในชุมชนของตนเอง จะทำให้ขายข้าวได้ในราคาสูง เพราะเป็นการขายให้โรงสีของตนเอง ไม่ต้องขายให้พ่อค้าคนกลาง และยังสามารถสีข้าวไว้บริโภคเอง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย 2.4 การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรร่วมกัน หลังจากที่เกษตรกรผลิตสินค้าทางการเกษตรได้แล้ว หากเกษตรกรนำมาจำหน่ายร่วมกันในรูปของกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ เกษตรกรก็จะสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง เนื่องจากการจำหน่ายในลักษณะเช่นนี้ เป็นการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง นอกจากนี้การรวมกลุ่มกันจะทำให้มีพลังในการต่อรอง ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกกดราคาจากผู้ซื้อ

3. ความเป็นอยู่ ในด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนนั้น เกษตรกรควรพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐาน จำพวกอาหารการกิน เช่น พริก เกลือ น้ำปลา กะปิ น้ำมันพืช หรือแม้แต่เสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มก็สามารถแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันกันได้ 4. สวัสดิการ ในแต่ละชุมชนควรจัดตั้ง จัดหาสวัสดิการต่างๆ สำหรับชุมชน เช่น กองทุนเงินกู้ยืมสำหรับสมาชิก รวมทั้งการบริการในด้านสุขอนามัยในชุมชน สวัสดิการต่างๆ เหล่านี้เกษตรกรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันจัดตั้งขึ้น เพื่อให้เป็นสวัสดิการภายในชุมชน 5. การศึกษา การศึกษาจะเป็นส่วนช่วยให้สังคมและชุมชนอยู่อย่างมั่นคงและมีความสุข ดังนั้นเกษตรกรที่ร่วมดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ควรมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา เช่น จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่จำเป็นไว้บริการภายในชุมชน เพื่อประโยชน์ในการเล่าเรียนของบุตรหลานเกษตรกรเอง 6. สังคมและศาสนา ชุมชนจะอยู่อย่างสงบสุขได้จะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติ เช่น วัด โรงเรียน ตลาด ตลอดจนแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง สิ่งอำนวยประโยชน์เหล่านี้ หากเกษตรกรในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาให้มีสภาพดีแล้ว ชุมชนก็สามารถใช้ร่วมกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สองก็คือ การเกาตรก้าวหน้า หรือเกษตรออมทรัพย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ครอบครัวเกษตรกร ชุมชนเกษตรกรทุกระดับร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการบริหารและจัดการพื้นที่ทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเกษตรกร บุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม ร่วมคิด ร่วมทำ และประสานงาน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการเกษตรยั่งยืน