วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ความหมายเชิงทฤษฎี

ความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประมวลและกลั่นกรองโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ โดยสามารถจําแนกองค์ประกอบของหลักปรัชญาฯ เป็น ๕ ส่วน ได้แก่ กรอบแนวคิด คุณลักษณะ คํานิยาม เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติรวมถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนําหลักปรัชญาฯ ไปปฏิบัติ กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น (Normative) โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยที่มองโลกเชิงระบบ ที่มีลักษณะพลวัตรและมุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ในขณะที่คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง คือสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติตนได้ในทุกระดับและตลอดเวลา โดยมีแนวคิดทางสายกลาง เป็นหลักแนวคิดที่สําคัญ คํานิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ในมิติต่างๆ ของการกระทําความมีเหตุมีผลโดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆ อย่างรอบคอบ และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเพื่อพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆทั้งด้านบวกและด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เงื่อนไข การตัดสินใจในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งเงื่อนไขความรู้ควบคู่กับคุณธรรม กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในการนําแผนไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ และเงื่อนไข คุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาและรอบคอบในการดําเนินชีวิต ความพอเพียง เป็นทั้งแนวทางปฏิบัติหรือวิธีการ (Means) และผลของการกระทํา (Ends) ที่คาดว่าจะได้รับ โดยคํานึงถึงความสมดุล บนพื้นฐานของความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี การจําแนกวิเคราะห์ดังกล่าวทําให้สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบด้านต่างๆ ที่สามารถนําไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้ นอกจากนี้แล้วยังชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมความหมายที่กว้าง โดยเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน ไม่จํากัดเฉพาะ ภาคเกษตรหรือภาคชนบทเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น: