วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

ปัจจัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาบนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มปัจจัยทุนทางสังคม
ทุนทางสังคมแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ • ทุนทางสังคมที่เป็นรูปธรรม อันรวมถึงทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทรัพยากร และสมาชิกในสังคม กับทุนทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น นวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยี เป็นต้น • ทุนทางสังคมที่เป็นนามธรรม เช่น วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ที่เป็นกรอบการดําเนินชีวิตของสมาชิกในสังคม ความรู้ในสังคม ความสัมพันธ์ไว้วางใจกันในชุมชน เป็นต้น จากประสบการณ์ของชุมชนต่าง พบว่า โดยทั่วไปแล้ว คนในชุมชนจะกระตือรือร้นที่จะรวมกลุ่มกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และปัญหานั้นส่งผลกระทบกับผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในชุมชน ดังนั้นกระบวนการสร้างสํานึกร่วมในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ โดยผ่านการรวมกลุ่มของคนท้องถิ่นในการร่วมกันใช้เหตุผลวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์แนวทางแก้ไขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและปกป้องผลประโยชน์ร่วมของคนภายในชุมชน เมื่อการรวมกลุ่มดังกล่าวประสบความสําเร็จ ชุมชนจําเป็นต้องสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่นที่ประสกับปัญหาเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ ความรู้ และร่วมมือกันสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชนตน ท้ายสุดการเรียนรู้ชึ่งกันและกันระหว่างชุมชนยังสามารถส่งเสริมการพัฒนาทางด้านต่างๆ อีกด้วย • ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ความสําคัญของ วัฒนธรรมไทย คือ การมีคุณธรรม เป็นพื้นฐาน เราจึงต้องใช้คุณธรรมนําการพัฒนา โดยมี “ระบบดี ระเบียบสวย รวยคุณธรรม” วางแผนการจัดการที่ดีของสภาชุมชน ชุมชนที่มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ปกครองไม่ยาก ทั้งนี้ต้องบริหารด้วยปัญญา ทําอะไรก็ต้องใช้ปัญญา ซึ่งเมื่อ “มีปัญหา ปัญญาจึงเกิด” และต้องมีจิตใจที่ตั้งอยู่ในวัฒนธรรม มิได้มุ่งเอาชนะกัน แต่เน้นความพอดี โปร่งใส มีคุณธรรม การใช้ภู มิปัญญาและวั ฒนธรรมเป็นปัจจั ยในการขับเคลื่อน โดยใช้ประเพณีของท้องถิ่นของตนเอง ต้องทําเอง ฝึกเอง และเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่ทําก็ไม่รู้ หรือไม่ทําก็ไม่มีทางทําได้ ต้องหาสถานที่สงบฝึกปัญญา ซักถามเมื่อสงสัย รู้ที่มาที่ไป รู้รากเหง้าตนเอง สร้างสํานึกรักบ้านเกิด สร้างนิสัยผูกมัดเชื่อมโยงชุมชนโดยการออมทรัพยฃ์ร่วมกัน ผ่านโครงการพึ่งตนเองเพื่อสร้างเม็ดเงิน และใช้เงินที่เหลือจัดสวัสดิการชุมชน • ศาสนา ปัจจัยด้านศาสนา นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากศาสนาทําให้คนเราดําเนินชีวิตตามกรอบคุณธรรม ไม่ฟุ้งเฟ้อ หลักคําสอนทางศาสนาเป็นที่พึ่งของทุกคนมาตั้งแต่เด็ก โดยส่วนใหญ่คนเราในวัยเด็กและวัยชรา จะให้ความสําคัญกับหลักคําสอนทางศาสนามากกว่าคนในวัยรุ่น ที่ยังคงดําเนินชีวิตอย่างคึกคะนอง และมักหลงไปตามความสนุกสนาน ทําให้มีเวลาศึกษาหลักศาสนาน้อยกว่าคนในวัยอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ยังคงต้องยึดหลักศาสนาในการดํารงชีวิต โดยคนที่ปฎิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดจะได้รับความนับถือจากคนอื่นๆ ในชุมชนเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากศาสนาพุทธที่คนให้ความนับถือพระ หรือศาสนาอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนจะให้ความนับถือโต๊ะครูเป็นอย่างมาก ศาสนาทุกศาสนาสอนให้เรารู้ว่า บาปบุญเป็นเช่นไร หรือสอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรม ว่าทําอย่างไรได้ผลอย่างนั้น เหตุการณ์ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุและปัจจัย ศาสนาทุกศาสนามีหลักคําสอนโดยพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน การที่เราตีความให้แต่ละศาสนาแตกต่างกันนั้น เป็นสิ่งที่พวกเรามาคิดหรือบัญญัติกันเอาเอง และทําให้มีความเห็นที่แตกต่างในหลักคําเชื่อ ดังนั้น ถ้าจะให้ดําเนินชีวิตอย่างเป็นสุข เราควรดํารงชีวิ ตโดยเข้าใจหลักคําสอนที่แท้จริง ที่อยู่เหนือหลักบัญญัติของแต่ละศาสนา ไม่แบ่งแยกเขาแบ่งแยกเรา การนําหลักศาสนามาประยุกต์ใช้นั้น จําเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังที่สําคัญคือ ต้องไม่ประมาท โดยคําว่าประมาทนั้นครอบคลุมความหมายรวมถึง ความประมาทในการกระทํา ประมาทในทางความคิด และการพูดจา ทั้งนี้ เพราะตามธรรมชาติของพวกเราทุกคนมีความเหมือนกันคือ ทุกคนมีความโลภ โกรธ หลงอยู่ในตัวเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เวลาไปพบสิ่งหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนา หรือไม่เป็นไปตามภาพที่เรานึกคิดไว้ เราก็จะสร้าง “ภาพปฏิเสธ” ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ทิฐิก็จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่หากเรามีสติอยู่ตลอดเวลาและยึดถือในหลักคําสอนของศาสนา เราจะสามารถสร้างภาพที่ด ีหรือเป็นกุศล ให้ตัวเรามีสัมมาทิฐิได้มากกว่า ภาพปฏิเสธหรือความคิดอันเกิดจากมิจฉาทิฐิ สําหรับการใช้ศาสนาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ควรอาศัยหลักคําสอนของศาสนาเผยแพร่ ควบคู่ไปกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีข้อเสนอแนะว่า ในการสอนหรือชักจูงคนอื่นๆ ให้เห็นคล้อยตามกับเรานั้น เราไม่ควรใช้คําว่า อย่า หรือสั่งห้ามไม่ให้ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะธรรมชาติของคนเรานั้น จะยึดมั่นในอัตตา และไม่ชอบให้อัตตาถูกทําลายหรือถูกใครสั่งการ ดังนั้น เวลาจะสื่อสารกับใครในเรื่องใดๆ ก็ตาม ควรคิดค้นหากลวิธีที่นุ่มนวล และสอดคล้องกับจริตของผู้รับสาร โดยควรคํานึงถึงแบบแผนของการสื่อสารให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแก่พสกนิกร ดังนั้นพระราชดํารัสหรือพระราชกรณียกิจของพระองค์ จึงเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนา บนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับบุคคล และชุมชน เนื่องจากพระองค์เป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนไทยทุกหมู่เหล่า ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยสําคัญในการปลุกจิตวิญญาณการทํางานเพื่อสังคม ตามรอยพระยุคลบาท การสร้างกิจกรรมในการขับเคลื่อนปัจจัยนี้สามารถทําได้หลายรูปแบบ ดังนี้ • จัดทําเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเผยแพร่ไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาทิ • รวบรวมพระราชดํารัสในวโรกาสต่าง ๆ โดยจําแนกเป็นหมวดหมู่การพัฒนา เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาแหล่งน้ำ การรวมกลุ่มอย่างสามัคคี เป็นต้น • รวบรวมพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการดําเนินการตามพระราชดําริ และการดําเนินการที่สําคัญต่างๆ • รวบรวมสื่อต่าง ๆ ที่จัดทําเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ • เผยแพร่ วิธีการ และขั้นตอนการไปดูงานโครงการพระราชดําริ หรื อสวนจิตรลดา เป็นต้น • มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทําเอกสาร และเผยแพร่ อาทิ สํานักงานคณะกรรมการประสานโครงการพระราชดําริ (กปร.) หรือศูนย์การเรียนรู้โครงการตามพระราชดําริ 8 แห่งทั่วประเทศ


กลุ่มปัจจัยการรวมกลุ่มและชุมชนเข้มแข็ง

หนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สําคัญในการพัฒนาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ตามความคิดเห็นของกลุ่มเห็นว่า ควรแบ่งแนวคิดออกเป็นสองส่วน คือการเสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม และการถักทอเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ในส่วนของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มนั้น ควรเล็งเห็นถึงความแข็งแกร่งในตัวผู้นําชุมชนเอง ซึ่งจะมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นความสนใจของชุมชน ให้รู้จักเรียนรู้แผนชุมชนอย่างมีระบบ เพื่อขจัดปัญหาของชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ความแข็งแกร่งนี้มีจุดหมายหลักสุดท้ายที่กลุ่ม โดยกลุ่มจะต้องรู้จักร่วมคิด เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์ ทั้งในเชิงการผลิต การตลาด ตลอดจนคํานึงถึงผลประโยชน์ที่จะมีต่อกลุ่มเป็นหลักในการตัดสินใจ เมื่อกลุ่มแต่ละกลุ่มมีความเข้มแข็งแล้ว เมื่อนั้นจึงจะถึงเวลาที่จะสามารถขยายออกสู่การสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบของการแลกเปลี่ยน พบปะ และพูดจากัน จนเกิดเครือข่ายที่ถูกร้อยและถักทอ จนขยายใหญ่ และมีความเป็นปึกแผ่น หลักสําคัญเพื่อการมุ่งสู่ความสําเร็จของการถักทอเครือข่ายก็คือ การค้นหากลุ่มเข้มแข็ง และการเรียนรู้จากความสําเร็จและล้มเหลวของกลุ่มที่เข้มแข็ง ซึ่งจะทําให้เกิดผลดีในการแพร่ขยาย กลุ่มต่าง ๆ จึงต้องรู้จักหนุนเสริมซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนกระบวนความรู้ จนทําให้เกิดการเรียนรู้ในเครือข่าย ทั้งในการผลิต ด้านเทคโนโลยี และการหาตลาด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เครือข่ายมีความมั่นคงและยั่งยืน กลุ่มในเครือข่ายจะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันทํางาน และมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน มีความสุจริตใจในการทํางาน อันจะเป็นส่วนเสริมให้การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างแท้จริง อันจะนํามาซึ่งการแก้ปัญหาของชุมชนที่มีพื้นฐานจากความขาดแคลนและความยากจนได้สําเร็จ กระบวนการใช้เครือข่าย-ชุมชนเข้มแข็งขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนดังนี้ • หาวิธีการถ่ายทอดการเรียนรู้ และถอดแบบ โดยมีชุมชนหลัก ชุมชนรอง และชุมชนเงา เป็นแกนระดับต่างๆ ในการถ่ายทอดสู่ชุมชนลูกข่าย ภายใต้หลักสูตรที่มีการสร้างร่วมกัน • สร้างความเข้มแข็งแก่บุคลากร โดยสร้างผู้นํา มีตัวตาย - ตัวแทน • มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยการสรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง • ปัจจัยหลักที่ควรจะมี เพื่อเกิดเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง คือ มีสถานที่ในการทํางานที่พร้อม มีแหล่งทุนหนุนเสริม และมีหลักสูตรที่จะเรียนรู้


กลุ่มปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาตินั้นหมายรวมถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่ทําให้เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ตั้งแต่ ป่า ดิน ต้นน้ำ ทะเล ปลายน้ำ ชายฝั่งทะเล ทรัพยากรทะเล และภูมินิเวศ ทั้งทางพืชและสัตว์ต่างๆ กระบวนการใช้ปัจจัยทางทรัพยากรขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • สร้างจิตสํานึกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสิ่งแวดล้อม • สร้างองค์ความรู้ และสร้างกลุ่มการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรร่วมกันในหมู่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชน หมั่นศึกษา วิจัย และทําความเข้าใจในศั กยภาพของทรัพยากรของชุมฃน และของประเทศ • กําหนดข้อบังคับให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม และร่วมกันเฝ้าระวังไม่มีการทําลายทรัพยากร • ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรให้มีใช้ได้อย่างยั่งยืน • ถอดบทเรียนผลของความสําเร็จ และความล้มเหลวจากการพัฒนาที่ผ่านมาของสังคมไทย และชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน


กลุ่มปัจจัยด้านรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ใช้ในการกําหนดกฎระเบียบในการปกครองและการบริหารประเทศ ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เปรียบเสมือนเข็มทิศชี้ทิศทางการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมของประเทศ ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการปกครองประเทศมาเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปตามสภาวการณ์ ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ดังเห็นได้จากกระบวนการจัดทํารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 ที่เกิดจากการบัญญัติโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจํานวน 99 คน ทําหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง ที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง และสามารถตรวจสอบการใช้อํานาจของรัฐได้ ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545–2549) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤตและเกิดสังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้านคือ เป็นสังคมที่มีคุณภาพ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และเป็นสังคมที่สมานฉันท์ และเอื้ออาทร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบในการร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้สนับสนุนการดําเนินงานในโครงการ และนโยบายต่างๆ ที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์สําคัญในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารประเทศ และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานําทางในแผนพัฒนาฯ ทั้งนี้ สํานักงานฯ ได้ดําเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการแปลงแผนพัฒนาฯ ไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยมีตัวอย่างโครงการดังนี้ • โครงการสร้างสรรค์พลังแผ่นดิน : โครงการดังกล่าวเป็นโครงการตามแนวคิดของรัฐบาล ที่จะใช้พลังแผ่นดินของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาหลักๆ และแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เช่น แก้ไขปัญหาความยากจนในระดับตําบล ลดปัญหายาเสพติด ปราบปรามการทุจริตการฉ้อราษฎร์บังหลวง สร้างพลังทางสังคม วัฒนธรรม และปัญญา ตลอดจนศีลธรรมและเร่งปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดผล ผ่านการอบรมเครือข่ายการพัฒนา ที่เป็นวิทยากรกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงร่วมคิด ร่วมทํา และร่วมรั บผิดชอบระหว่างสมาชิกในชุมชนต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารจากเดิมที่รัฐหรือภาคราชการเป็นผู้แก้ไขปัญหาสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งหมด • นโยบายการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ : คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทําหน้าที่ประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน อันเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ตามคุณลักษณะสําคัญ 4 ด้าน ได้แก่ • ความน่าอยู่ คือเรื่อง คุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย • ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมา ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมวิจัยต่อยอด หรื อเลือกนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสม • เศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง คือการดําเนินกิจกรรมด้านการผลิต ควรยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตให้มีความสมดุล มีภูมิคุ้มกัน และเชื่อมโยงการผลิตชุมชนสู่ภายนอก • การบริหารจัดการที่ดี คือการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม • โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น : โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งประสานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการกระจาย อํานาจสู่ท้องถิ่น อันเป็นแนวทางหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในส่วนของการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นรากฐานที่สําคัญ และก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีแก่สังคมไทย อันเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่ง นอกเหนือจากความพอประมาณ และความมีเหตุมีผล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นปรัชญานําทางในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

ไม่มีความคิดเห็น: